การดูแลรักษาแบตเตอรี่ให้มีอายุยาวนาน
1.เลือกแบตเตอรี่ให้เหมาะกับพฤติกรรมของผู้ใช้รถยนต์
ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ที่ใช้รถยนต์เป็นระยะทางไกลๆ รถยนต์ที่ติดตั้งระบบแก๊ส LPG , NGV
หรือขับรถยนต์ในเมืองที่การจราจรติดขัดเป็นประจำทั้งวันและทุกๆวันก็ควรใช้แบตเตอรี่น้ำ
ผู้ใช้รถยนต์เยอะแต่ไม่เคยตรวจสอบน้ำกลั่นเลยก็ไม่ควรใช้แบตเตอรี่น้ำ ให้เลือกแบตเตอรี่ชนิดกึ่งแห้ง
สำหรับผู้ที่ใช้รถน้อยอาทิตย์ละ 2-3 วัน หรือบางอาทิตย์ไม่ได้ใช้รถเลย
ควรเลือกแบตเตอรี่ชนิดแห้งจะเหมาะสมกว่า
2. การตรวจดูระดับน้ำให้อยู่ในระดับ UPPER LOWER ที่บอกสถานะน้ำกรดด้านข้างของแบตเตอรี่รถยนต์
ระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่รถยนต์อย่าคิดว่าไม่สำคัญ เพราะเป็นเรื่องที่คนมักมองข้ามคิดว่าแค่ดูไม่ให้น้ำแห้งก็พอ
แต่จริงๆแล้วระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่รถยนต์มีความสำคัญมากเพราะเวลาที่สตาร์ทรถยนต์
ระบบไดชาร์จทำงานชาร์จไฟเข้าอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่เครื่องติดจะเกิดความร้อนทั้งจากการชาร์จไฟ
และจากความร้อนของแสงแดด รวมไปถึงความร้อนจากรถยนต์ รถบรรทุกที่อยู่รอบข้าง
ทำให้น้ำที่อยู่ภายในแบตเตอรี่เกิดการระเหย คงเหลือไว้แต่กรดยิ่งน้ำในแบตเตอรี่รถยนต์น้อยลงมากเท่าไหร่
ความเข้าข้นของกรดก็จะสูงขึ้นมากเท่านั้นค่าความถ่วงจำเพาะมาตรฐานของแบตเตอรี่รถยนต์อยู่ที่ 1.25
ในระดับน้ำปกติแต่ในขณะที่ระดับน้ำลดลง ความเข้มข้นของกรด จะเข้มข้นสูงขึ้นค่าความถ่วงจำเพาะจะสูง
ไปถึง 1.30 ส่งผลทำให้แผ่นธาตุภายในเสียหายและเสื่อมสภาพ ค่าความต้านทานในแผ่นธาตุสูงขึ้น
ทำให้แบตเตอรี่รถยนต์ไม่สามารถรองรับแรงดันจากไดชาร์จได้ เช่น เมื่อไดชาร์จทำงานไม่ถึง 10 นาที
แบตเตอรี่รถยนต์ลูกนั้นน้ำภายในจะเดือดเร็ว และเดือดแรงขึ้นเรื่อยๆ จนอาจมีอุณหภูมิสูง 70 – 90 องศา
จะส่งกลิ่นเหม็นของน้ำกรดจนไม่สามารถใช้รถได้ จึงควรตรวจดูน้ำกลั่นในแบตเตอรี่รถยนต์อย่างสม่ำเสมอ
ให้อยู่ในเกณฑ์จะดีที่สุด
3. หลีกเลี่ยงการจอดรถกลางแจ้งเป็นประจำ เพราะความร้อนจากภายนอก
ก็ส่งผลทำให้แบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น
4. แบตเตอรี่รถยนต์ที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน หรืออยู่ในรถยนต์ที่จอดนานเกิน 1 เดือน แต่ไม่ควรเกิน 3 เดือน
ควรนำไปชาร์จกับร้านที่ไว้ใจได้ เพราะต้องใช้เวลาชาร์จนานกว่าจะเต็ม ส่วนใหญ่ร้านแบตเตอรี่รถยนต์ทั่วไป
หรืออู่ซ่อมรถยนต์จะชาร์จไฟให้ไม่เกิน 3-4 ชม. เค้าจะเลิกชาร์จและแจ้งลูกค้าว่าชาร์จไม่เข้าเนื่องจากเปลืองไฟ
และจะได้ขายแบตเตอรี่ลูกใหม่ได้อีกด้วย บางครั้งแบตเตอรี่รถยนต์ของลูกค้ายังมีสภาพดีอยู่
แต่ต้องใช้เวลาชาร์จนาน 1-2 วันกว่าจะเต็ม ถ้าร้านค้าที่มีจรรยาบรรณเค้าจะชาร์จให้ลูกค้าจนไฟเต็ม
วิธีที่จะรู้ว่าแบตเตอรี่ลูกนั้นไฟเต็มหรือไม่ ให้ร้านวัดแรงดันให้ดู แรงดันต้องไม่ต่ำกว่า 12.6 V
และค่าความถ่วงจำเพาะจะต้องได้ 1.25 ทุกช่องถือว่าไฟเต็ม ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
ถ้าค่าความถ่วงจำเพาะทั้ง 6 ช่อง ต่างกันเกิน 0.04 แบตเตอรี่รถยนต์ลูกนั้นภายใน
อาจเกิดความเสียหายไปแล้วหรือเสื่อสภาพแล้ว
5. หลีกเลี่ยงการสตาร์ทลากยาว ๆ บ่อย ๆ เพราะจะทำให้แผ่นธาตุภายในหลุดร่วงเสียหายเร็วกว่าปกติ
6. หมั่นตรวจสอบขั้วแบตเตอรี่อย่าให้มีขี้เกลือขึ้นที่ขั้วแบตเตอรี่ ถ้ามีให้ใช้น้ำร้อนราดแล้วนำแปรงมาขัดออก
จากนั้นให้ใช้น้ำมันอเนกประสงค์ฉีดป้องกันการเกิดอ๊อกไซด์
7. เมื่อระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่รถยนต์ลดระดับลงมา ห้ามใช้น้ำกรดเติมแทนน้ำกลั่นลงในแบตเตอรี่รถยนต์
เด็ดขาด การที่นำน้ำกรดเติมเข้าไปลูกค้าอาจจะรู้สึกว่าน้ำระเหยช้ากว่าปกติ จึงใช้น้ำกรดเติมแทนน้ำกลั่น
สาเหตุที่ใช้น้ำกรดเติมแล้วระดับน้ำลดช้ากว่าปกติเพราะโมเลกุลของน้ำกรดมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำบริสุทธิ์
จึงทำให้น้ำระเหยช้าลงแต่ผลที่ตามมาคือ ค่าความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) จะสูงขึ้นส่งผลให้เกิดความร้อนสูง
สภาพภายในแบตเตอรี่รถยนต์นั้นแตกหักเสียหายเร็วขึ้นและเสื่อมสภาพในที่สุด
8. หลีกเลี่ยงการใช้ไฟในขณะดับเครื่องเป็นระยะเวลานานๆ เช่น การเปิดเครื่องเสียงในขณะดับเครื่อง
เป็นระยะเวลานานๆ เพราะทุกครั้งที่แบตเตอรี่รถยนต์มีการคายประจุไฟฟ้า จะเกิดคราบซัลเฟสขึ้นที่แผ่นธาตุ
ยิ่งแบตเตอรี่คายประจุมากเท่าไหร่คราบซัลเฟสก็จะเกิดขึ้นมากตามไปด้วยและการชาร์จไฟ
เป็นวิธีเดียวที่จะละลายคราบซัลเฟสให้กลับมาเป็นน้ำกรดอีกครั้งถ้าการคายประจุมากกว่าการชาร์จกลับเข้าไป
คราบซัลเฟสก็จะละลายไม่หมดและจะกลายเป็นหินปูน ซึ่งการชาร์จก็จะไม่สามารถละลายหินปูนได้อีก
ทำให้สภาพภายในของแบตเตอรี่รถยนต์ลูกนั้นจะสูญเสียหน้าสัมผัสในการทำปฏิกิริยาระหว่างตะกั่วกับน้ำกรด
ไปที่ละน้อยจึงเป็นเหตุผลว่ารถไม่ค่อยได้ใช้จอดนานๆแบตเตอรี่รถยนต์ลูกนั้นถึงเสื่อมสภาพเร็ว
9. การพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ระหว่างรถยนต์กับรถยนต์
สิ่งสำคัญคือ
1. หนีบขั้วบวกของแบตเตอรี่รถยนต์คันที่สตาร์ทอยู่ก่อนแล้วนำหัวคีบอีกด้านนึง
ไปหนีบที่ขั้วบวกของแบตเตอรี่รถยนต์คันที่สตาร์ทไม่ติด
2. หนีบขั้วลบของแบตเตอรี่รถยนต์คันที่สตาร์ทอยู่ก่อนแล้วนำหัวคีบอีกด้านนึง
ไปหนีบที่เครื่องยนต์ หรือขั้วลบ ของแบตเตอรี่รถยนต์คันที่สตาร์ทไม่ติด